รู้รึเปล่า? รวมเทคนิคพิเศษทำป้ายโฆษณาให้แหวกแนวไม่เหมือนใคร!

ในยุคที่เมื่อเราออกนอกบ้านเราก็คงต้องได้เห็นป้ายสื่อโฆษณานอกบ้าน (OOH) ไม่ว่าจะเป็นป้ายบิลบอร์ด, สื่อโฆษณาบนสาธารณสุข, สื่อโฆษณาตามราวสะพาน, เสาไฟฟ้า หรือจะเป็นตามห้างร้านสรรพสินค้าที่วางเพื่อโปรโมทสินค้า โปรโมชั่นต่าง ๆ  แล้วเคยคิดกันหรือเปล่าว่าจะทำอย่างไรให้คนหันมาสนใจป้ายโฆษณาของเราล่ะ?

วันนี้ Signature Media เลยจะมาขอเสนอเทคนิคพิเศษที่จะทำให้ป้ายเราแหวกแนวไม่เหมือนที่ไหน ใครเห็นก็ต้องหยุด ต้องเหลียวมอง! เราเลยจะมาขอสรุปออกมาทั้งหมด 5 เทคนิคมาให้ดูกัน ถ้าพร้อมแล้วก็ตามไปอ่านด้วยกันได้เลย!

1. เทคนิคไดคัท (Die-cut)

ไดคัท ที่เราเคยได้ยินนั้นคือเทคนิคได้รับความนิยมกันในหมู่โรงพิมพ์ และการออกแบบมาเนิ่นนาน ถ้าพูดทางเทคนิคการทำไดคัทนั้นคือ การที่เราตัด หรือเลือกวัตถุ องค์ประกอบส่วนสำคัญมาใช้ โดยเราอาจเอาองค์ประกอบอื่นมาเล่นด้วยได้ 

แต่! เทคนิคพิเศษไดคัทในการทำป้ายสื่อโฆษณานอกบ้าน OOH ไม่ใช่อย่างนั้น  มีการซึ่งวิธีนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในการทำสื่อโฆษณานอกบ้านแบบ OOH ทั้งแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ เพราะใช้ต้นทุนน้อยกว่าวิธีอื่น โดยเทคนิคนี้เป็นการเพิ่มลูกเล่นมากกว่าป้ายบิลบอร์ดแบบปกติ คือ การทำให้ป้ายบิลบอร์ดมีส่วนยื่นออกไปด้านข้างเพื่อทำให้ป้ายของเรามีความพิเศษ สีสันและชีวิตชีวาแตกต่างจากป้ายบิลบอร์ดปกติแบบเดิม ๆ 

2. เทคนิคป๊อปอัพ (Pop-up)

มากับเทคนิคที่สองอย่าง ‘เทคนิคป๊อบอัพ’ ที่ทุกคนคงรู้จักกันดี พูดถึงการป๊อปอัพหลายคนก็คงนึกถึงภาพสามมิติที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เมื่อเปิดหนังสือแล้วจะเด้งเป็นสามมิติเหมือนในหนังสือนิทานเด็กกันใช่หรือเปล่า? ซึ่งการทำเทคนิคป๊อปอัพในการออกแบบป้ายสื่อโฆษณานอกบ้าน (OOH) นั้นก็ใช้แบบเดียวกัน คือการทำป้ายบิลบอร์ดแยกเป็นส่วน ๆ แต่ละชิ้นแล้วนำมาซ้อนรวมกัน เพื่อให้บิลบอร์ดของเราเป็นเลเยอร์แล้วดูมีมิติ และโดดเด่นมากขึ้น เหมือนอย่างรูปตัวอย่างที่เป็นป้ายโฆษณาบิลบอร์ดของ Surf excel และโฆษณา Ipod + Tunes ที่ทำสื่อโฆษณาแบบป๊อบอัพ เพื่อโปรโมท และทำให้เตะตาผู้พบเห็นนั่นเอง 

3. เทคนิคการทำแบบม็อคอัพ (Mock-up)

หลังจากที่เราอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดมาอย่างยาวนานร่วมกว่า 2 ปี ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาขึ้นแบบก้าวกระโดดจึงมีการผลิตป้ายสื่อโฆษณานอกบ้านแบบสามมิติกันมากขึ้น ซึ่งสื่อโฆษณาที่ใช้เทคนิคการทำแบบม็อคอัพ (Mock up) โดยวิธีนี้อาจดูคล้ายคลึงกับเทคนิคแรกและเทคนิคที่สองสามมิติ แต่ต่างกันตรงที่เทคนิคนี้จะทำให้ตื้นลึกหนาบางจากการที่เราใส่ทำให้ป้ายนูนสูง หรือนูนต่ำ หรือการใส่พร้อพเพิ่มเติมเข้าไปจนเกิดลักษณะป้ายบิลบอร์ดแบบสามมิติ (3D Billboard) 

เราขอยกตัวอย่างป้ายโฆษณารณรงค์ให้คนคาดเข็มขัด โดยมีการใช้พร้อพของยางยืด เพื่อให้เราตระหนักถึงอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดบนท้องถนนหากเราไม่มีสติ รวมถึงระมัดระวังความปลอดภัยในการขับขี่ หรือจะเป็นโฆษณาของรถ Honda ใหม่ที่มาในคอนเซปต์ของ The All-New Fit 2015 Honda FIT โดยสร้างพร้อพเพิ่มเติม เพื่อสร้างกิมมิคให้กับป้ายโฆษณา โดยการทำพร้อพสิ่งของที่เราชอบใช้ หรือต้องพกพาไปด้วยในแต่ละครั้งที่เราไปไหน โดยรถนี้สามารถรองรับทุกการขับขี่ และพร้อมเติมเต็มทุกประสบการณ์ไม่ว่าคุณจะไปไหน หรือจะเป็นโฆษณาสุดท้ายของเน็ตฟลิก เพื่อโปรโมทหนังเรื่อง Stranger Thing โดยการทำพร้อพจักรยานเพิ่มเติมที่สื่อถึงหนังในเรื่อง เพื่อสร้างอิมแพค, สร้างความสนใจและสร้างความเตะตาให้กับผู้ที่พบเห็น

4. เทคนิคการมูฟวิ่ง (Moving) 

ถึงแม้มนุษย์เราชอบดูภาพมากกว่าการอ่านหนังสือ หรือข้อความ แต่เคยสังเกตมั้ยว่า ‘เมื่อเราเสพสื่อนั้นเราจะให้ความสนใจกับภาพเคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่ง’ เพราะอะไรที่เคลื่อนไหว หรือมีเสียงย่อมสะกิดต่อความอยากรู้อยากเห็นของเราอยู่เสมอ ทำให้การทำแนวเคลื่อนไหวถูกแพร่หลายในหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นการทำสื่อโฆษณาอย่างการทำโฆษณาแบบโมชันกราฟิก (Motion Graphic) ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว เพื่อโปรโมทแบรนด์ และสินค้าต่าง ๆ บนโลกโซเชียล การทำการตลาด และยังมีตลาดใหม่ที่เราได้เห็นกันอย่าง ‘ตลาดวิดีโอสั้น’ ที่มีแพลตฟอร์มนำทัพอย่างแพลตฟอร์มที่เราสามารถสร้างสรรค์วิดีโอสั้น หรือ youtube ที่เป็นแพลตฟอร์มให้บริการด้านวิดีโอมาอย่างยาวนาน 

หลายคนคงคิดว่า เทคนิคพิเศษอย่างการ ‘Moving’ นั้นไม่คงไม่สามารถทำบนป้ายสื่อโฆษณาบิลบอร์ดได้หรอก นอกจากจะบนป้ายบิลบอร์ดสไตล์ LED คิดผิดแล้ว! เพราะที่จริงป้ายบิลบอร์ดรูปแบบปกติก็สามารถทำได้เหมือนกัน แต่ขั้นตอนกระบวนการทำนั้นอาจยุ่งยาก และใช้ต้นทุนที่สูงกว่าป้ายแบบอื่น ซึ่งเราขอยกตัวอย่างป้ายสื่อโฆษณานอกบ้านที่ใช้เทคนิคนี้มา 2 อย่างคือ ป้ายโฆษณาที่เป็นแคมเปญของ The Economist ธุรกิจทำหนังสือพิมรายสัปดาห์ที่ใช้กลยุทธ์ของ Alternative marketing ที่เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดทางเลือกใหม่ โดยไม่เน้นวิธีการแต่เน้นวิธีดึงดูดใจลูกค้าด้วยวิธีแยบยล รวมถึงมีการใช้เทคนิคของ Creative Thinking ที่ช่วยให้สามารถคิดได้นอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ร่วมด้วยในการทำป้ายโฆษณา OOH และโฆษณาขนมขบเคี้ยวอย่าง Mac Angles ที่มีการทำมูฟวิ่งบนป้ายเพื่อสร้างความสนใจกับผู้พบเห็น

5. เทคนิคการใช้แสง  (lighting)

‘แสง’ องค์ประกอบที่สร้างบรรยากาศ ‘สี’ องค์ประกอบที่มีส่วนช่วยให้แสงสร้างมู้ดและโทนสี (Mood & Tone) ซึ่งเมื่อทั้งสองอย่างรวมกันนั้นจะสร้างบรรยากาศและผู้พบเห็นเข้าใจสิ่งที่เราสื่อ และอินไปกับสิ่งนั้นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการใช้สีนั้นจะทำให้มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกันออกไป สื่อบันเทิง และวงการสร้างสรรค์จึงมีการนำสีที่แตกต่างกันมาใช้ในงานต่าง ๆ หรือที่เรียกว่าการใช้จิตวิทยาของสี (Color Psycho) ถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น ลองจินตนาการถึงตัวเอกที่กำลังเดินอยู่ในบรรยากาศสีดำมืดมิด เราจะรู้สึกถึงความลึกลับ น่ากลัว ความเศร้า หรือถ้าเป็นสีเขียว เราจะรู้สึกถึงความสดชื่น ปลอดภัย ผ่อนคลายสบายตา และเงียบสงบ ส่วนการใช้แสงนั้นเราสามารถใช้ได้จากแสงสว่างรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิดย์ หลอดไฟ ฯลฯ เหมือนในรูปตัวอย่างของโฆษณาป้ายบิลบอร์ด เพื่อโปรโมทหนังเรื่อง Dracular ของ BBC โดยป้ายมีการเล่นกับแสง เงาสะท้อนรูปแดร็กคูล่าที่เราจะเห็นได้ชัดในยามค่ำคืน หรือป้ายโฆษณาของ Mc Donald ที่เราจะเห็นว่าเวลาไหนมีบริการอาหารอะไร แล้วเวลานั้นเหมาะกับสินค้าแบบไหนของแมคโดนัลนั้นเอง
 

จะเห็นได้ว่าเทคนิคพิเศษในการทำป้ายโฆษณาสื่อนอกบ้าน (OOH) ให้แหวกแนวไม่ซ้ำใครนั้นมีได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น วิธีการ Die-cut, Pop-up, Mock-up, Moving และ Lighting ซึ่งแต่ละวิธีเราสามารถนำมาผสมผสานกันได้ เช่นการจับคู่นำวิธี Moving มาใช้กับ Lighting หรือการนำวิธีไดคัทมาเล่นด้วยกับวิธีม็อคอัพ เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีที่เรานำมาใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับคอนเซปไอเดีย และวัตถุประสงค์ของงานเราว่าอยากให้ป้ายบิลบอร์ดนั้นสื่อไปในเชิงประมาณไหน แล้วผู้บริโภคที่พบเห็นจะเข้าใจเรา และสิ่งที่เราต้องการให้รับรู้มากน้อยแค่ไหน ใครที่สนใจอยากทำป้ายโฆษณาบิลบอร์ด หรือป้ายสื่อโฆษณานอกบ้านอื่น ๆ (OOH) Signature Media พร้อมให้บริการ และพร้อมแนะนำทุกคำปรึกษา เราพร้อมเป็นเพื่อนคู่คิดอยู่เคียงข้างคุณ

ติดต่อสอบถาม

เบอร์โทร: 0855544222

ไลน์ไอดี: @signaturemedia

เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/SignatureMedialtd/ 

อีเมล: signaturemedia.th@gmail.com 

Source: BrandbuffetCreative AdsMarketing Mind.Talk cook sing song