พาส่องกระแส ! “เลือกตั้งผู้ว่าฯ” กับการใช้ “สื่อนอกบ้าน” ในการหาเสียง!

ใกล้เข้ามาแล้วกับการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ประจำปีพุทธศักราช 2565 ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญ เพราะเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครครั้งแรกในรอบ 9 ปี  มีผู้สมัครชิงตำแหน่งทั้งหมด 31 คน เป็นชาย 25 คน และหญิง 6 คน โดยในช่วงระยะเวลากว่า 9 ปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในการหาเสียงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้กลยุทธ์ผ่านการใช้สื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อออนไลน์ที่เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรือสื่อออฟไลน์พื้นฐานอย่างป้ายหาเสียง ที่ติดตามบริเวณทางเดิน ทางเท้า และอีกสื่อหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย นั่นคือ “สื่อนอกบ้าน”

ซึ่งสื่อนอกบ้าน (OOH) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อโฆษณากลางแจ้ง สื่อกลางแจ้ง ก็ถือเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่จำเป็นสำหรับผู้เข้าสมัครผู้ว่าและพรรคการเมืองต่าง ๆ เพราะเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ให้พื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถแสดงวิสัยทัศน์ได้อย่างง่ายดายและช่วยให้สื่อสารกับมวลชนจำนวนมากได้ โดยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งนี้ จะเห็นได้ชัดว่าสื่อที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากที่สุด คือ สื่อออนไลน์ที่สามารถสื่อสารกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก กว่า 700,000 คน หรือคิดเป็น 16% ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 4.5 ล้านคน

แม้ปัจจุบัน สื่อออนไลน์ จะเข้ามามีบทบาทกับผู้คน กลายเป็นสื่อหลักที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้มากกว่า สื่อโทรทัศน์ แต่แน่นอน นั่นก็ไม่ได้ความว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์กันได้ การใช้สื่อนอกบ้าน จึงดูเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ที่ผู้สมัครสามารถใช้ในการหาเสียงเพื่อประชาสัมพันธ์ตนเอง ให้คนทั่วไป คนที่ทำงาน มีการเดินทางไปมาหรือใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านได้รู้จัก พร้อมยังสามารถระบุพื้นที่ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นแหล่งธุรกิจ แหล่งสถานศึกษา หรือบริเวณที่มีกลุ่มคนใหม่ หรือกลุ่มคนทำงาน เป็นต้น  

นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือเอ็มไอ ได้กล่าวถึงเม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณา กับการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ว่า จากการสำรวจของกลุ่มเอ็มไอ พบว่าภาพรวมความคึกคักของเม็ดเงินสื่อโฆษณาในช่วงเดือนเม.ย.ปีนี้ จะมีความคึกคัก คาดว่าเพิ่มขึ้นกว่า 15-20% เมื่อเปรียบเทียบเม.ย.ปีที่แล้ว โดยจะมาจากเม็ดเงินโฆษณาเลือกตั้งน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 200 ล้านบาท ซึ่งส่งผลบวกโดยตรงต่อสื่อออนไลน์ สื่อนอกบ้าน และสื่อโทรทัศน์ และเม็ดเงินโฆษณาในช่วงเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ในปีนี้ก็มีความแตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อ 9 ปีที่แล้วอย่างสิ้นเชิง โดยเม็ดเงินหลักในปีนี้จะให้น้ำหนักไปยังสื่อออนไลน์ ต่างจาก 9 ปีก่อนที่สื่อหลักจะเป็นทีวี เห็นมีเพียง 1 คนที่ใช้สื่อทีวี พร้อมกันนี้รูปแบบและวิธีการหาเสียงก็ได้ปรับเปลี่ยนสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน 

พร้อมได้วิเคราะห์ถึงรูปแบบการหาเสียง การประชาสัมพันธ์นโยบายของผู้สมัครผู้ว่าในครั้งนี้ ว่ารูปแบบได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจาก 3 ปัจจัย คือ

ปัจจัยที่ 1 ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป (The Changing Media Landscape) สื่อกระแสหลักในตอนนี้คือ สื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย เพราะฉะนั้นเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป การใช้ช่องทางในการโฆษณาหาเสียงที่จะเข้าถึงฐานเสียงย่อมต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน

ปัจจัยที่ 2 เส้นทางที่ผู้บริโภคสัมผัสกับแบรนด์เป็นแบบออมนิแชนแนล (From Linear to Omni Customer Journey) จากเดิมที่ผู้บริโภคเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลแบบเป็นขั้นเป็นตอนกว่าจะตัดสินใจซื้อ แต่ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคกลายเป็นแบบออมนิแชนแนล คือรับรู้ข้อมูลผ่านช่องทางต่าง ๆ แบบพร้อม ๆ กัน เพราะฉะนั้น หากเปรียบผู้สมัครผู้ว่าฯ เป็นแบรนด์ หรือสินค้า การโฆษณาหรือขายของก็ย่อมต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่เป็นหลัก

ปัจจัยที่ 3  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ (new political era & new eligible voters) การเลือกตั้งในครั้งนี้ คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งมีสิทธิออกเสียงเป็นครั้งแรก (first time voter) กว่า 700,000 คน หรือคิดเป็น 16% ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 4.5 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มคนที่สามารถพลิกเกมเลือกตั้งได้ เพราะฉะนั้นการจะเข้าถึงคนรุ่นใหม่และฉวยโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นฐานเสียง รูปแบบและวิธีการหาเสียงจึงต้องสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน

เลือกตั้งผู้ว่าฯ” กับการใช้ “สื่อนอกบ้าน” ในการหาเสียง!

หากกล่าวถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่ใช้สื่อนอกบ้าน (OOH) ในการหาเสียงหรือการประชาสัมพันธ์ตนเอง คนแรกที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย กับการเปิดตัวเป็นว่าที่ผู้สมัครใหม่อย่าง นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้  อดีตอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นว่าที่ผู้สมัครลงรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในนามของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีผู้คนพูดถึงบนโลกโซเชียลอย่างมากมายกับการเปิดตัวครั้งนี้ โดยมีการเลือกใช้สื่อนอกบ้าน อย่างป้ายบิลบอร์ดดิจิทัลจอ LED ขนาดใหญ่ที่ถูกติดตั้งบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง เรียกได้ว่านับเป็นคนแรกและคนเดียวที่เลือกใช้การประชาสัมพันธ์ตนเองผ่านป้ายบิลบอร์ดในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งนี้ พร้อมเลือกติดตั้งในบริเวณที่มีความยอดนิยมสูงสุด สำหรับแฟนคลับของศิลปินต่าง ๆ ก็มักจะใช้พื้นที่ดังกล่าวในการทำป้ายเซอร์ไพรส์ดาราศิลปินที่ตนเองชื่นชอบ 

แน่นอนว่าคนรุ่นใหม่หลายคนก็อาจจะมักหน้าคุ้นตากับ ดร.เอ้ ในบทบาทของวิศวกร นักวิชาการและอธิการบดีมหาวิทยาลัย แต่เพราะนี่คือการพลิกบทบาทครั้งใหญ่ ในการก้าวเข้ามาสู่บทบาทของนักการเมือง การใช้สื่อนอกบ้าน OOH ในการเปิดตัวผ่านป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่และเป็นทำเลทองเช่นนี้ จึงถือเป็นการเรียกความสนใจให้กับคนรุ่นใหม่ที่เดินผ่านไปผ่านมา หรือคนทั่วไปที่อาจจะรู้สึกสะดุดตากับใบหน้าและข้อความหาเสียงอย่าง “เปลี่ยนกรุงเทพ เราทำได้” 

นอกจากจะมีการหาเสียงผ่านป้ายบิลบอร์ดบนจอ LED แล้ว ดร.เอ้ ก็ยังมีการใช้สื่อนอกบ้านอย่างสติกเกอร์ขนาดใหญ่ที่แปะบนรถเมล์สาธารณะเช่นเดียวกัน ถือเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ ที่มีการใช้สื่อนอกบ้านในการประกาศหาเสียง ในทุกช่องทาง ทั้งป้ายบิลบอร์ด สติกเกอร์สาธารณะ รวมถึงป้ายตามทางเดินต่าง ๆ 

ไม่เพียงแค่ ดร. เอ้ เพียงคนเดียว ที่มีการใช้สติกเกอร์หาเสียงแปะบนรถเมล์สาธารณะ แต่นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. สังกัดพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็น ส.ส. ผู้ที่มีชื่อเสียง โลดแล่นบนทวิตเตอร์ ด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เฉียบคม ให้ความสำคัญกับทุกกระแสบนโซเชียล จึงทำให้มีแฟนคลับเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ และ ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งนี้ นายวิโรจน์เปิดตัวด้วยการโหนรถเมล์เดินทางมาสมัครผู้ว่าฯ พร้อมจับฉลากเบอร์ด้วย “รถเมล์” สายสีส้ม หมายเลข 46 ที่มีสติกเกอร์ติดรอบคัน ผ่านรูปของตนเองและข้อความขนาดใหญ่ “พร้อมชนทุกปัญหา เพื่อสร้างเมืองที่คนเท่ากัน”

ปิดท้ายด้วยผู้สมัครขวัญใจคนรุ่นใหม่อีก 1 คน ผู้แข็งแกร่งเกินสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เจ้าของฉายา “ผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” กับการลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่มาในธีมประหยัดพลังงานและลดภาระให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกออกแบบป้ายตามทางเดินที่มีขนาดเท่ากับเสาไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกะกะขวางทางสำหรับผู้คนที่เดินตามทางเท้า รวมไปถึงแนวคิดการนำป้ายหาเสียงมารีไซเคิลเป็นกระเป๋าสะพาย เพื่อใช้สิ่งของให้คุ้มค่าที่สุด 

พร้อมการเลือกใช้รถไฟฟ้าในการหาเสียง ในเบื้องต้นมี มีรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 23 คัน แบ่งเป็น รถเมล์ไฟฟ้า 2 คัน, รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 5 คัน, มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 7 คัน, รถกระบะไฟฟ้า 1 คัน และรถยนต์ไฟฟ้าอื่นๆ อีก 8 คัน ที่ติดป้ายสติกเกอร์หาเสียงรอบคัน โดยหาเสียงตามถนนในกรุงเทพฯ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดมลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และส่งเสริมการใช้พาหนะไฟฟ้าในกรุงเทพฯ

สรุปข้อดีของการใช้สื่อนอกบ้าน OOH ในการหาเสียงทางการเมือง 

1. สื่อนอกบ้านเคลื่อนไหวได้เร็วพอ ๆ กับการเมือง เข้าถึงผู้คนได้สูงแบบเรียลไทม์ ผู้สมัครสามารถอัปเดตข้อความตามลักษณะที่ปรากฏของแคมเปญได้

2.สื่อนอกบ้านสามารถปรับขนาดได้ อาจมีขนาดใหญ่หรือตรงเป้าหมายตามที่ผู้สมัครต้องการ ทั้งยังช่วยครอบงำพื้นที่ทางภูมิศาสตร์

3.สื่อนอกบ้านสามารถกำหนดเป้าหมายทางสังคม-เศรษฐกิจ กลุ่มชาติพันธุ์หรือพรรคการเมืองใด ๆ ผ่านการส่งข้อความสามารถเป็นแบบไฮเปอร์โลคัลและมีการขับเคลื่อนในละแวกใกล้เคียง

4.สื่อนอกบ้านเข้าถึงผู้คนทุกกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนวัยทำงาน กลุ่มผู้ใหญ่ รวมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุ

ติดต่อสอบถาม

???? เบอร์โทร: 0855544222

???? ไลน์ไอดี: @signaturemedia

⌨️ อีเมล: signaturemedia.th@gmail.com

✅ เว็บไซต์: https://www.signaturemedia.co.th

REF: plus.thairath, matichon,financialexpress

#SignatureMedia

#สื่อนอกบ้าน #สื่อกลางแจ้ง

#ป้ายโฆษณา #ป้ายบิลบอร์ด

#OOH #OutofHomeMedia